ประวัติความเป็นมา :
ตำบลน้ำก่ำ เดิมทีได้มีราษฎรจากอำเภอมุกดาหารและราษฎรจากแขวงสุวรรณเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่ปากลำน้ำก่ำ ซึ่งมีต้นน้ำมาจากหนองหาน จังหวัดสกลนคร สืบเนื่องมาจากบริเวณปากน้ำก่ำเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับในการประกอบอาชีพการเกษตรและประมง เพราะเป็นที่ราบลุ่มและมีปลาชุกชุมในฤดูน้ำหลาก ปลาจำนวนมากจะมารวมตัวกันว่ายทวนน้ำขึ้นไปในลำน้ำก่ำ เพื่อวางไข่ อาศัยพื้นที่ตรงที่ตั้งหมู่บ้านเป็นจุดระหว่างลำน้ำก่ำเชื่อมแม่น้ำโขง ซึ่งเรียกว่าปากก่ำ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเป็นอยู่ของราษฎรที่อยู่อาศัย จึงตั้งชื่อบ้านตามลำน้ำว่า “บ้านน้ำก่ำ”
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตำบลน้ำก่ำ แบ่งการปกครองออกเป็น 20 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 39,960 ไร่ ที่ตั้งบ้านเรือน 2,956 ไร่ แหล่งน้ำ 1,395 ไร่ การเกษตร 19,545 ไร่ ที่สาธารณะ 2,024 ไร่ พื้นที่อื่น ๆ 14,040 ไร่ ประชากร 2,200 ครัวเรือน 11,665 คน
ตำบลน้ำก่ำ แบ่งการปกครองออกเป็น 20 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 39,960 ไร่ ที่ตั้งบ้านเรือน 2,956 ไร่ แหล่งน้ำ 1,395 ไร่ การเกษตร 19,545 ไร่ ที่สาธารณะ 2,024 ไร่ พื้นที่อื่น ๆ 14,040 ไร่ ประชากร 2,200 ครัวเรือน 11,665 คน
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ จรดตำบลธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ จรดตำบลโป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำโขง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จรดตำบลฝั่งแดง ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทิศเหนือ จรดตำบลธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ จรดตำบลโป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำโขง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จรดตำบลฝั่งแดง ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 11,665 คน เป็นชาย 5,789 คน เป็นหญิง 5,876 คน
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 11,665 คน เป็นชาย 5,789 คน เป็นหญิง 5,876 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่
อาชีพเสริม ประมง ค้าขาย
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่
อาชีพเสริม ประมง ค้าขาย
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. อบต. น้ำก่ำ
2. วัดโพธิ์คำ
3. ัวัดโพธิชัย
4. หาดแห่
5. ถ้ำสายไหม
6. ครกไฮเทค ตำเข้าเม่าบ้านแก่งโพธิ์
1. อบต. น้ำก่ำ
2. วัดโพธิ์คำ
3. ัวัดโพธิชัย
4. หาดแห่
5. ถ้ำสายไหม
6. ครกไฮเทค ตำเข้าเม่าบ้านแก่งโพธิ์