เหล็กเปียก เหล็กไหลเปียก 
 

เหล็กเปียกหุ้มพระธาตุพนมองค์เดิม
& พระนางพญาเหล็กเปียกกรุวัดพระธาตุพนม พระนางพญา ปี​ ๒๕๑๘

พระนางพญาเหล็กเปียกกรุวัดพระธาตุพนม นั้นเป็นพระกรุที่จัดว่าเป็น “กรุพระธาตุพนม” ซึ่งมีการบันทึกประวัติการสร้างไว้อย่างชัดเจนว่าสร้างโดยราชครูโพนสะเม็กหรือ “ญาครูขี้หอม” ในพ.ศ. 2233 ซึ่งท่านได้เดินทางมายัง “เมืองมรุกขนคร” (เมืองนครพนมโบราณ) เพื่อบูรณะองค์พระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ 2 ไปจนถึงยอดพระธาตุ

ท่านให้หล่อเหล็กเปียก เหล็กไหลขึ้นสวมยอดพร้อมด้วยฉัตรยอดองค์พระธาตุด้วย ทำให้องค์พระธาตุสง่างามและมั่นคงยิ่งขึ้น ท่านราชครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมเป็นเวลา ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ

เหล็กเปียก ซึ่งเป็นธาตุกายสิทธิ์ ที่ปรากฏในนิมิตของท่านพระครู ซึ่งธาตุกายสิทธิ์นี้ มีคุณสมบัติพิเศษเย็นและดูดไอน้ำในอากาศมารวมตัวกันทำให้ชุ่มเหมือนเปียกน้ำ ทำให้ไม้ขีดไฟจุดไม่ติด ป้องกันฝนฟ้าผ่า ป้องกันอันตรายจากดินปืน เป็นเหล็กไหลที่หาได้ยากมากพรรณสัณฐานสีขาวขุ่นเหมือนตะกั่วนับเป็นโลหะธาตุที่มีเนื้อเปียกชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลาคล้ายๆกับนํ้าค้างจับเกาะเข้าไปอยู่ในสถานที่ใดก็จะเกิดบรรยากาศเย็นสบายถ้าอยู่ใกล้ลูกปืนอาจทำให้กระสุนด้านเพราะการแผ่รังสีความเย็นของเหล็กเปียกสมัยโบราณนิยมใช้เหล็กเปียกประดับไว้ที่ยอดพระเจดีย์ป้องกันฟ้าผ่ามีอานุภาพทางหนังเหนียวคงกระพันอาวุธทุกชนิด จากคุณสมบัติดังกล่าวพระครูจึงนำลูกศิษย์ไปทำพิธีแล้วนำมาตีเป็นแผ่นหุ้มยอดพระธาตุ

ครั้นพระธาตุพนมล้มในปี 2518 เหล็กเปียกที่หุ้มยอดองค์พระธาตุยุคพระครูโพนสะเม็กได้แตกฉีกขาดเสียหาย ทางคณะกรรมการผู้เก็บกู้ได้รื้อเหล็กเปียกนี้ไปกองรวมกันไว้ที่วิหารคต ท่านดร.มหาสม เลขานุการวัดธาตุพนมขณะนั้น และท่านพระครูใบฏีกาเต็น ได้เก็บมาทำเป็นพระสมเด็จนางพญา ในครั้งแรกทำได้ใช้แม่พิมพ์ที่ทำขึ้นเองจากดินเหนียวเผา ใช้พระนางพญากรุพระธาตุพนมเป็นแบบ พระจึงไม่ค่อยสวย ต่อมาได้ให้ช่างแถวเสาชิงช้าที่กรุงเทพทำบล็อกทองเหลืองให้ จึงได้พระที่สวยขึ้น ทำกันที่กุฏิท่านข้างหนองสระพัง โดยนำเหล็กเปียกมาผสมกับชินและตะกั่วสามอย่างแล้วนำมาต้มในเตาไฟฟ้าเมื่อละลายแล้วก็เท ลงไปในบล็อก จากนั้นก็คว่ำบล็อกแม่พิมพ์ให้เหรียญตกลงไปในอ่างน้ำเพื่อให้เย็นแล้วก็เป็นอันเสร็จ

กล่าวโดยสรุป คือ “พระเหล็กเปียก” ปี 2518 วัดพระธาตุพนม นั่นสร้างจากเหล็กเปียก ที่ห่อหุ้มยอดพระธาตุพนมตั้งแต่เมื่อสมัยญาครูขี้หอม (พ.ศ.2233) จึงจัดว่าเป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่าและหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

เหล็กไหลเปียกเป็นเหล็กไหลอีกชนิดหนึ่งที่หายากและไม่ค่อยพบเห็น เหล็กไหลเปียกจะมีความใกล้เคียงกับเหล็กไหลเงินยวงหรือเหล็กไหลชีปะขาว คือมีผิวพรรณวรรณะเป็นสีเงินยวง แต่สามารถกลับกลอกสีผิวตัวเองได้จากขาวเป็นดำและจากดำเป็นขาว คล้ายโลหะจำพวกเงินที่เมื่อโดนอากาศแล้วจะทำให้สีผิวเปลี่ยน แต่เหล็กไหล เปียกยิ่งอัศจรรย์กว่านั้นเพราะโลหะจำพวกเงินเมื่อเปลี่ยนสีผิวจาก ขาวเงินยวงเป็นสีออกดำแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสีเดิม ได้เอง ต่างกับเหล็กไหลเปียกที่สามารถเปลี่ยนสีผิวตนเองให้กลับไป กลับมาได้ เหล็กไหลเปียกหรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า..  
 
เหล็กเปียก นี้มีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์คือสามารถเรียกหยดน้ำในอากาศมารวมตัวกันได้ ไม่ว่าเหล็กเปียกจะอยู่ที่ไหนก็จะมีความชุ่มชื้นที่นั่นดุจเดียว กับเหล็กไหลน้ำ เหล็กเปียกมักพบเป็นก้อน มีสัณฐานดั่งก้อนแร่ใต้ดิน 
 
เท่าที่บันทึกไว้……. 
 
ครูบาโพนสะเม็กซึ่งเป็นพระอริยเจ้าทางฝังลาวเป็น ผู้ที่ค้นพบเหล็กไหลเปียกจากการนั่งทางในแล้วนิมิตเห็นแร่กายสิทธิ์ ประเภทนี้ ท่านจึงได้นำเอาแร่ชนิดนี้มาหลอมแล้วนำมาเคี่ยวด้วยวิชา อาคมและได้นำเหล็กเปียกมารีดเป็นแผ่น หลังจากนั้นนำไปบรรจุไว้ ที่ยอดฉัตรของพระธาตุพนม ด้วยเชื่อว่ามีอานุภาพทางป้องกันฟ้าผ่า อัคคีภัยและบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขได้ 
 
 ฤทธิ์อำนาจจากเหล็กไหลเปียกทำให้หัวไม้ขีดยุ่ย ดินปืนเปียก ไม่อาจจุดระเบิดหรือติดไฟขึ้นมาได้ ซึ่งคล้ายคลึงกับฤทธิ์อำนาจของ เหล็กไหลน้ำ และเหล็กไหลชีปะขาว เพียง แต่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ฤทธิ์ของเหล็กเปียกจะก่อให้เกิดความชื้น ขึ้นทุกครั้ง……  
 
จะเห็นได้จากการที่พระพุทธรูปบางองค์มีน้ำออกจาก พระเศียรซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเกิดขึ้นจากการนำเอาแร่เหล็กเปียกชนิด นี้หล่อหลอมลงไปในเนื้อธาตุที่ใช้ในการสร้าง ทำให้สามารถเรียก ละอองนั้าในอากาศมารวมตัวกันจนกลายเป็นนาอยู่ภายในเศียรของ พระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปที่วัดนาอู จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือ พระพุทธรูปที่วัดตูม จังหวัดอยุธยา เป็นต้น
 
 

LEK LAI BPIAK #เหล็กเปียก #เหล็กไหลเปียก

LEK LAI BPIAK (The Heaven Metal) is “exceptionally rare”. LEK LAI PIAK is very close to LEK LAI NGERN YUONG or LEK LAI XI PA KHAAW.

There is caste, tone color in silvery white. It can color itself from white to black & black to white.
It’s like metal such as silver that when hit by the air will change the color of the skin.

But LEK LAI BPIAK is more miraculous, because metals such as silver change color from silvery white to black color can not be changed back to its original color by itself.

Unlike LEK LAI BPIAK can change their skin color back. Commonly referred to as short as..” LEK BPIAK”
The supernatural power is able to retrieve the water droplets in the air and gathered together.
No matter where LEK BPIAK is, it’ll have the moisture there, as well as LEK LAI NAM.

LEK BPIAK is often found as lumps, a form as lump ore underground. As far as recorded…

The great master Aatchayaa Kroo Khee Hom Phon Samek is Buddhist saint in Lao, who discovered LEK LAI BPIAK from sitting in meditation and has premonition about psychic ore.

He has embraced this type of ore smelting and bring to boil with magic and LEK BPIAK were rolled in sheets. Later in 1690-1692, they are incorporated at the top of chat Phra That Phanom.

Believed that there is the powerful lightning protection, conflagration and inspire welfare. The power from LEK LAI BPIAK can crumble the match head, making the gunpowder wet. It may not be the ignition or fire, is very close to the power of LEK LAI NAM & LEK LAI XI PA KHAAW. But with different apperance.

In addition, the power of LEK BPIAK will cause moisture every time. Can be seen from the Buddha, there are some water out from the head. Which is assumed to arise from the ore of LEK BPIAK molded into this type of texture elements which is used in its creation. Makes it possible to retrieve the steam in the air, gathered together to become water in Buddha head.

Like a Buddha at the temple Naa OO, Mae Hong Son province or Buddha at the temple Dtoom, Ayutthaya province, etc.

The place where the great master Aatchayaa Kroo Khee Hom got it, is just assumed that come from the wild mountain in Thakhek city or Ban Don Khao Lam, Amphoe That Phanom & from Amphoe Renu Nakhon , between Baan Lao Sam Raan, Baan Nong Laat Kwaai region & Baan Gut Chim.

The ancestors called this area LAO LEK BPIAK. When Phra That Phanom Pagoda collapsed in 1975, LEK BPIAK at the era of Phra Kroo Phon Samek which coverd the top of Ong Phra That Pagoda is cracked & damaged. The committee who keep this LEK BPIAK is going to piles of stuff together at the cloister.

Dr. Mahaa Som (Phra Sohpon Jaytiyaa Pibaan), That phanom Temple Secretary at that moment & Phra Kroo Baidee Gaten
has been made as Phra somdej Nang Phaya. For the first time achieved using molds made from burnt clay. Use of the Phra that phanom Phra Nang Phaya as model, but the amulet is not beautiful.

Later, we let someone at Giant Swing in Bangkok made the brass block & this time is more beautiful. It’s made in Chai Mongkhon monk’s dwelling, nearby Nong Sapang Tong. By bringing LEK BPIAK mixed with three different type of Shin (lead) and then boiled in an electric stove.

When it melted, pour into blocks and then inverted block mold coins fell in the water to keep cool and it’s done. They give it free to everyone who comes pray and make merit in the temple. When it finished, they just do a giveaway every day. They keep going on during free time and there is no explicit count.

 

Thatphanom Amulet รวมวัตถุมงคลธาตุพนม

http://www.facebook.com/ThatphanomAmulet