พระธาตุพนมเป็นสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ซึ่งจากตำนานอุรังคธาตุกล่าวไว้ว่า มีการนำเอาพระอุรังคธาตุ (พระธาตุหัวอก) ของพระพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า โดยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมการก่อสร้างแบบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สูง 53.60 เมตร แลดูสง่างาม และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายสำเร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2522
จากอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์และตำนานโบราณต่างแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญทางศาสนาของดินแดนแห่งนี้ แม้ตะไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันถึงความรุ่งโรจน์อันยาวนานที่แท้จริงได้ ปัจจุบันองค์พระธาตุพนมนี้ นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธสาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดมา
เป็นการรำบูชาพระธาตุพนมที่ปรับปรุงมาจากการฟ้อนรำแห่กองบุญ ในเทศกาลนมัสการองค์พระธาตุพนม ได้นำเอาบทสวดสดุดีองค์พระธาตุพนม ทำนองสรภัญญะ มาประกอบกับวงดนตรีมโหรี ซึ่งกล่าวถึงตำนานและความพิสดารขององค์พระธาตุพนม
การรำชุดนี้แสดงครั้งแรกในงานสมโภชพระธาตุองค์ใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2522 ถือเป็นเอกลักษณ์ใช้รำเปิดงานนมัสการองค์พระธาตุพนมทุกครั้งต่อมาจนถึงปัจจุบัน และได้นำมารำบูชาถวายพระธาตุพนมประจำปีในเทศกาลไหลเรือไฟของจังหวัดนครพนมตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา
รำศรีโคตบูรณ์
นครพนม คือ อาณาจักรศรีโคตบูรณ์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีตกาล รำชุดนี้เป็นรำประจำจังหวัดนครพนม จึง
ได้ชื่อว่า “รำศรีโคตบูรณ์” เพื่อกระตุ้นให้ระลึกถึงความเจริญทางด้านศิลปะวัฒนธรรมของศรีโคตบูรณ์ในสมัยก่อนสำหรับท่ารำผสมผสานระหว่างรำเซิ้งกับรำภูไท บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ท่ารำของชาวอีสาน คือ ยกสูง ก้มต่ำ รำกว้าง มีความกลม กลืนระหว่างท่ารำกับดนตรีพื้นเมืองอีสานอย่างสมบูรณ์ยิ่ง
รำไทญ้อ
“ไทญ้อ” เป็นชนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอำเภอท่าอุเทน นาหว้า และโพนสวรรค์ โดยปกติการรำไทญ้อจะ
บในเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายน และเทศกาลที่สำคัญ ๆ เท่านั้น
ในเทศกาลสงกรานต์ ชาวไทญ้อจะมีการสรงน้ำพระในตอนกลางวัน โดยมีการตั้งขบวนแห่จากคุ้มเหนือไปยังคุ้มใต้ลง
มาตามลำดับ ในวันขึ้นตั้งแต่ 1 ค่ำเป็นต้นไป จนถึงวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 5 ส่วนในตอนกลางคืนหนุ่มสาวชาวบ้านจะจัด
ขบวนแห้นำต้นดอกจำปา (ลั่นทม) ไปบูชาวัดที่ผ่านไปเริ่มจากวัดใต้สุดขึ้นไปตามลำดับจนถึงวัดเหนือสุดซึ่งจะเป็นคืนสุดท้าย
เสร็จพิธีแห่ดอกไม้บูชาองค์พระธาตุ จะเป็นช่วงแห่งการเกี่ยวพาราสี การหยอกล้ออย่างสนุกสนานของบรรดาหนุ่มสาวชาวไทญ้อ ดังปรากฏในท่ารำ
คำว่า “ผู้ไท” เป็นชื่อของชนเผ่าหนึ่งที่สืบเชื้อสายมาจากผู้ไท ซึ่งอยู่ในเมืองวังเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันได้ตั้งถิ่นฐานอันมั่นคงอยู่หลายแห่งในจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอเรณูนคร และบางตำบลของอำเภอนาแกและอำเภอธาตุพนม
การรำผู้ไทเป็นเครื่องบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อถือ และวัฒนธรรมของชนผู้ไท ซึ่งมีมาแต่เดิม ลักษณะและวัตถุประสงค์แห่งการฟ้อนรำมีอยู่ 2 ประการ คือ รำบูชาหรือถวายพญาแถน เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและขอความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตขอบตนเองและครอบครัว ประการที่ 2 รำฉลองสมโภชในงานบุญประเพณีประจำปี เช่น งานบุญบั้งไฟและงานบุญมหาชาติ
ลักษณะท่าทาง ลีลาการฟ้อนรำ ตลอดทั้งเครื่องแต่งตัว เป็นการบ่งบอกถึงการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาล นับเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไม่เหมือนที่อื่น
รำหางนกยูง
ได้มีการดัดแปลงปรับปรุงท่ารำใหม่ ในปี พ.ศ. 2492 ให้ท่ารำมีลีลาอ่อนช้อยเหมือนท่านกยูงรำแพน ใช้ประกอบกับดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมืองได้ตามความเหมาะสม และได้ถือเป็นท่ารำอันสวยงามที่นำมารำถวายและบูชาองค์พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ทุกปี